สาระน่ารู้ “อาหารบำบัดภาวะไขมันในเลือดสูง”
ข้อแนะนำในการรับประทานอาหาร ปริมาณคอเลสเตอรอลในอาหารส่วนรับประทานได้
- รับประทานอาหารที่มีไขมันหรือน้ำมันน้อย เลือกวิธีการหุงต้มอาหารแบบ ต้ม ตุ๋น นึ่ง อบ ยำ หรือผัดน้ำมันน้อย
- ควรใช้น้ำมันพืชชนิดกรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fattyacid) ในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง (ในปริมาณวันละ 5-7 ช้อนชา)
- เน้นการรับประทานเต้าหู้และเนื้อปลา โดยเฉพาะปลาทะเล เช่น ปลาทู ปลาซาบะ ปลาโอ ปลาทูน่า ปลาแซลมอน จะช่วยในการเพิ่มไขมันดีในเลือด (HDL) และลดระดับไขมันไม่ดีในเลือด (LDL Triglyceride)
- รับประทานผักและผลไม้ไม่หวานจัดเป็นประจำทุกมื้อ และให้หลากหลาย (ผักและผลไม้ไม่ควรน้อยกว่า 400 กรัม/วัน)
- หลีกเลี่ยงน้ำมันชนิดกรดไขมันอิ่มตัวสูง (saturated fatty acid) เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ น้ำมัน หมู ไก่
- หลีกเลี่ยง เนื้อสัตว์ติดมัน ติดหนัง และอาหารไขมันสูง เช่น อาหารทอดต่างๆ ข้าวมันไก่ แกงกะทิ ปลาท่องโก๋ กล้วยแขก ข้าวหาหมู ผัดไท หอยทอด ผัดซีอิ้ว
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง ปลาหมึก เนื้อสัตว์ติดมันติดหนัง เครื่องในสัตว์ติดมัน ติดหนัง เครื่องในสัตว์
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานซ์สูง (Trans fatty acid) เช่น พาย โดนัท ขนมขบเคี้ยว เนยเทียม มาการีน หรือ หนมเบเกอรรี่ต่างๆ
- ควบคุมปริมาณการรับประทานอาหารกลุ่มข้าว-แป้ง และควรรับประทานอาหารมื้อเย็นก่อน 18.00 น (ควบคุมหรือป้องกันภาวะ Triglyceride สูง)
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหวานหรือมีน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวานต่างๆ น้ำหวาน น้ำผลไม้ต่างๆ น้ำอัดลม (ควบคุมหรือป้องกันภาวะ Triglyceride สูง)
- งดการสูบบุหรี่ แลงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอร์ทุกชนิด
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ วันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม (ค่า BMI = 1805-22.9)
(ข้อมูลเมื่อ วันที่ 1 มกราคม 2555)